โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: library@mcu.ac.th

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การจัดการปัญหาภัยแล้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษManagement of Drought Problems Caused by Climate Change of Thongphaphum District Kanchanaburi Province
  • ผู้วิจัยพระชุติกานต์ อภินนฺโท (เชื่อมกลาง)
  • ที่ปรึกษา 1ดร.เดชา กัปโก
  • ที่ปรึกษา 2พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา13/03/2561
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
  • URI https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/554
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 3,124
  • จำนวนผู้เข้าชม 765

บทคัดย่อภาษาไทย

           การศึกษาวิจัยเรื่อง “การจัดการปัญหาภัยแล้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่  1)  เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบของภัยแล้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี  2)  เพื่อศึกษากระบวนการจัดการภัยแล้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของหน่วยงานภาครัฐและประชาชนในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี  3)  เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการภัยแล้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 
           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐและประชาชนในพื้นที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ที่มีบทบาท หน้าที่ ในการจัดการภัยแล้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 17 รูป/คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหาและผลกระทบของภัยแล้ง กระบวนการจัดการภัยแล้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนในพื้นที่ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เชื่อมโยงให้ได้แนวทางที่ยั่งยืนในการจัดการภัยแล้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 
             ผลการวิจัยพบว่า
            1.สภาพปัญหาและผลกระทบของภัยแล้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอำเภอทองผาภูมิในปัจจุบันอยู่ในลักษณะพื้นที่ป่าเหลือน้อย สภาพอากาศแปรปรวนและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วไม่เป็นไปตามฤดูกาล ฤดูหนาวสั้นลง ฤดูร้อนยาวนานขึ้นและอุณหภูมิสูง ฤดูฝนประสบภาวะฝนทิ้งช่วงและตกในปริมาณน้อย มีผลกระทบต่อระบบชลประทานท้ายน้ำ ความคงที่ของอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิลดลงและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบบนิเวศในพื้นที่ป่าบริเวณแหล่งน้ำธรรมชาติเปลี่ยนแปลงและเสียสมดุล แหล่งน้ำธรรมชาติลดและแห้งอย่างรวดเร็ว เกิดความแห้งแล้งในหลายพื้นที่ ดินเสื่อมโทรมไม่ดูดซับน้ำ ภาคเกษตรผลผลิตคุณภาพต่ำและมีปริมาณลดลงผลกระทบด้านสุขภาพ อ่อนไหวกับการเจ็บป่วยง่ายขึ้น 
             2. กระบวนการจัดการปัญหาภัยแล้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของหน่วยงานภาครัฐและประชาชนในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี มีรูปแบบที่ชัดเจน 3 ประการ คือ 1) การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยการนำรถบรรทุกน้ำไปแจกจ่ายในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และสูบน้ำจากแม่น้ำขึ้นมาใช้  2) การแก้ไขปัญหาระยะยาว มีการขุดบ่อบาดาลสร้างระบบประปาหมู่บ้าน สร้างฝายชะลอน้ำ ขุดบ่อเก็บน้ำ ระบบประปาภูเขา ควบคุมการปล่อยน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลลงแหล่งน้ำเพื่อรักษาคุณภาพน้ำ  3) การแก้ปัญหาในลักษณะปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติ ทางหน่วยงานภาครัฐลงพื้นที่ให้ความรู้ประชาชน เรื่อง ดิน ป่า น้ำ การสร้างฝาย รณรงค์ให้มีการปลูกป่าช่วยกันรักษาต้นไม้ พยายามสร้างจิตสำนึกร่วมกัน
ในชุมชน
               3.แนวทางในการจัดการปัญหาภัยแล้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี  ตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ  1) แนวทางการจัดการด้านมนุษย์ ประชุมและร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างพร้อมเพรียง ปลูกจิตสำนึกคนรุ่นหลังตั้งแต่เด็ก รู้จักพึ่งพาตนเอง รู้จักประมาณ ผู้นำสามารถเสียสละประโยชน์ตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมได้  2) แนวทางการจัดการด้านสังคม แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ทำกิจกรรมส่วนรวมเพื่อพัฒนาสังคม ใช้ระบบ บวร บ้าน วัด รัฐ ประสานกันในการแก้ไขปัญหา มีกลุ่มหรือองค์กรเล็ก ๆ เป็นลักษณะเซลล์ในทุก ๆหมู่บ้านประสานกันเป็นเครือข่ายและรวมตัวกันทำกิจกรรมเพื่อสังคม ทำแผนที่สังคมเพื่อแก้ไขจุดอ่อน/พัฒนาจุดแข็ง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีอยู่เสมอ  3) แนวทางการจัดการด้านธรรมชาติ ร่วมกันปลูกป่าในวาระสำคัญ แจกพันธ์ไม้ผล ไม้ยืนต้นและสมุนไพรให้ปลูก สนับสนุนการสร้างป่าชุมชนและส่งเสริมให้เป็นแหล่งศึกษาป่าธรรมชาติเชื่อมกับการท่องเที่ยว ชุมชนใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนได้ตามข้อตกลงร่วมกัน เน้นรักษาพื้นที่ป่าที่มี ใช้พลังมวลชนคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ ใช้สารชีวภาพในการเกษตรแทนการใช้สารเคมี  4) แนวทางการจัดการด้านเทคโนโลยี ติดตั้งอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยทิ้งและควบคุมการปล่อยน้ำเสียของแหล่งชุมชนริมน้ำ ใช้เครือข่ายโซเชียลเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์สำหรับการทำกิจกรรมเพื่อสังคม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               This thesis is a qualitative study with three objectives:  1. to investigate the impacts of drought crisis caused by climate change in Kanchanaburi’s Thongphaphum district,  2. to study drought management strategies of state agencies and local people and  3. to seek for alternative of drought management to make the district coup with the crisis more efficiency.  It was accomplished with review literature and participation observation approaches. In-depth interviews were used to collect information from 17 key informants which are officials from related-state agencies and local people.  
                 The findings are concluded as follows:
                 1.  Climate change causes the province faces with longer prolonged drought, longer summer and shorter winter. Variation in temperature and climate patterns also appear. Rainfall decreased and delay that effect to inefficiency of irrigation system. Droughts lower the quality of soils and cause ecosystem degradation. These all lead to health problems of the residents.
                  2.  Local state agencies handle the situations with ad-hoc strategies such as supply clean water to communities faced the abnormally dry by trucks or allow them to directly pump from natural water ways, if with availability of water resources.  There are also some long-term measures to address the problems by drill the wells, create local pipe system as well as check dam constructions.
                  3.  Strategies to address prolong drought in the province in accordance with sustainable development are including:  1) human management: open room for people participation and cultivate environmental concern among children, 2) social management: coordination of community’s triangle pillars: temple: communities and state agencies, is created to make all stakeholders move forward to coup with the problem together,  3) environmental management: allow local people to gain more form community forest in a sustainable way and encourage them to switch from chemical farming to organic farming,  4) technology management: waste water to be treated before being discharged natural water ways, and social media are used to promote environmental campaigns. 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 7.99 MiB 3,124 8 มิ.ย. 2564 เวลา 07:27 น. ดาวน์โหลด