โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: library@mcu.ac.th

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การจัดการขันธ์ 5 เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนามนุษย์ในพระพุทธศาสนา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Managements of Five Aggregates (Pañca Khandha) for Problem Solution and Human Development in Buddhism
  • ผู้วิจัยพระมหาโยธิน โยธิโก (ปัดชาสี)
  • ที่ปรึกษา 1พระโสภณพัฒนบัณฑิต, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระครูสุธีคัมภีรญาณ, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา07/02/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/150
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,463
  • จำนวนผู้เข้าชม 3,022

บทคัดย่อภาษาไทย


               ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ขันธ์ 5 ในพระพุทธศาสนาเถรวาท (2) ศึกษาการจัดการและดูแลขันธ์ 5 กับชีวิตมนุษย์ในพระพุทธศาสนา (3) วิธีการจัดการขันธ์ 5 เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนามนุษย์ในพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (documentary research)  โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตำรา หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า
              ขันธ์ 5 ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ประกอบด้วยรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ คำนิยามและความหมายแห่งขันธ์ 5 แต่ละขันธ์มีรายละเอียดมาก ซึ่งสื่อให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะตัวแต่ละขันธ์เหล่านั้นอย่างลึกซึ้ง แนวคิดเรื่องขันธ์ 5 มีก่อนสมัยพุทธกาลแต่เป็นอัตตา ต่างจากในพระพุทธศาสนาที่เป็นอนัตตา โดยพระพุทธเจ้ามีวิธีที่หลากหลายในการแสดงให้เห็นโทษแห่งขันธ์ 5 ทุกองค์ธรรมในพระพุทธศาสนาสามารถสงเคราะห์เข้ากับขันธ์ 5 และขันธ์ 5  แต่ละขันธ์นั้นก็มีปฏิบัติการร่วมกัน และเหตุปัจจัยที่ทำให้แต่ละขันธ์ปรากฏนั้นก็รวมอยู่ในขันธ์ 5 ไม่ได้เป็นสิ่งอื่นนอกจากขันธ์ 5 โดยมีส่วนหนึ่งแห่งสังขารขันธ์ที่เรียกว่าผัสสะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้นามขันธ์ปรากฏชัด พระพุทธเจ้าได้ใช้แนวคิดขันธ์ 5 นี้เป็นคำตอบโลกและชีวิตว่าไม่มีสิ่งอื่นนอกจากขันธ์ 5 แอบแฝงอยู่ในสรรพสิ่ง และขันธ์ 5 ก็ตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ การศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา จึงมีความจำเป็นต้องเข้าใจเรื่องขันธ์ 5 ให้ชัดเจน
              การจัดการขันธ์ 5 กับชีวิตมนุษย์ในพระพุทธศาสนา มีความสัมพันธ์กับหมวดธรรมที่เป็นพื้นฐานสำคัญ ซึ่งเป็นหลักการปฏิบัติทั้งในระดับโลกิยะและระดับโลกุตตระ ได้แก่ ไตรสิกขา 3  สติปัฏฐาน 4 ธาตุ 4 อินทรีย์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 และมรรค 8 ธรรมในแต่ละหมวดนี้มีความสมบูรณ์ในตัว  ส่วนกระบวนการปฏิบัติการร่วมกันแห่งขันธ์ 5 ในชีวิตประจำวัน สามารถศึกษาได้จากสิ่งที่ปรากฏออกมาทางการปฏิบัติการแห่งรูปขันธ์ ในรูปแบบพฤติกรรมทางกาย และวาจา โดยใช้หลักไตรสิกขา 3 สติปัฏฐาน 4 มรรค 8 พัฒนากายและจิต ให้ครอบคลุมกระบวนการตามหลักภาวนา 4 คือ การพัฒนากาย การพัฒนาศีล การพัฒนาจิต และการพัฒนาปัญญาในพระพุทธศาสนา 
              การศึกษาวิธีการจัดการขันธ์ 5 เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนามนุษย์ในพระพุทธศาสนา สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนามนุษย์ในระดับโลกิยะ  คือ การสร้างจิตวิญญาณให้เป็นนักคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาความโลภมาก การควบคุมสัญชาตญาณทางเพศ การสร้างความรับผิดชอบต่อตนเอง การสร้างความมั่นใจในตนเอง การสร้างความตระหนักในตนเอง ระดับโลกุตตระ สามารถสร้างจิตและเจตสิกฝ่ายกุศลให้เกิดขึ้น พัฒนามนุษย์ให้หลุดพ้นจากทุกข์ หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดเข้าถึงพระนิพพานอันเป็นบรมสุข ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ


The objectives of this research paper were: to study the Five Aggregates (Pañca-khandha) in Buddhism, the management of the Five Aggregates and life in Buddhism and the method in managing the Five Aggregates in order to solve the problem and develop mankind in Buddhism. It was conducted based on Documentary Research Methodology, acquiring the data from Pali Canon, Pali Commentaries, outstanding works in Buddhist studies field, texts, books, and related research paper. 
The result of the study was found that: 
                 The Five Aggregates in Buddhism, here, was referred to: corporeality                (Rūpa), feeling or sensation (Vedanā), perception (Saññā), mental formation (Saṅkhāra), and consciousness (Viññāa). However, the detail of Five Aggregates was very vast and complicated; hence, in this context the study would mainly focus on the objective as mentioned above. The Five Aggregates was existed before the era of Buddhism, but it was presented as permanence or Atta – while Buddhism categorized as Anattā or impermanence. The Buddha pointed out in several places the danger of cling on the Five Aggregates. In fact, all Buddhist doctrines could be synthesized with the Five Aggregates; each aggregate was co-related depending on other in consisting the Five Aggregates as the whole; in other word, the reality of external world was nothing rather than the component of the Five Aggregates in which it was clearly identified to the mankind by mean of Phassa or contact. The Buddha present the reality of the universe with this very doctrine of the Five Aggregates and it was cling or attaching on the Five Aggregates that draw the mankind suffer with the cycle of Three Characteristics (Trilakkhaṇa). Thus, it was very important to understand the principle of the Five Aggregates at the first place in order to comprehend the Buddhadhamma. 
          The management of the Five Aggregates in Buddhism was related to the basic doctrines both in the level of worldly mundane (Lokiya) and super mundane (Lokutara) such as Three Fold Training (Tri-sikkhā), Four Foundation of Mindfulness (Saṭipatthāna), Four Elements (Dhātu), the Sense-Faculties (Indriya), the Twelve Spheres (Ayatana), and the Seven Factors of Enlightenment (Bojjhaṅga). For the process of practicing the principle of the Five Aggregates in daily life could be tracked from the three bodily actions (bodily, verbal, and mental). The principles of Three Fold Training, Four Foundation of Mindfulness, and the Noble Eightfold Path (Ariyamagga) were the teaching intended for developing metaphysical constituent of mankind, and developing the mankind in accordance to the four aspects of the Four Bhāvanā or cultivation namely bodily, molality, mental, and wisdom in order to obtain the knowledge in which it generated the theory of Buddhist integrated-practical model for developing the mankind with well concrete constructive model. 
          For the study of the method in managing the Five Aggregates in order to solve the problem and developing mankind in Buddhism could be divided into two levels: solving and developing the worldly mundane (Lokiya) problem such as mental culturing to be creative and generous man, be responsible and discipline, having good conduct and self-awareness; while, culturing oneself for being free from suffering and the cycle of Samsara, realizing the Nibbāna or the total goal of Buddhism was for the super mundane (Lokutara) level.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 4.04 MiB 1,463 22 พ.ค. 2564 เวลา 17:37 น. ดาวน์โหลด